วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

                                              การละเล่นพื้นบ้านไทย



                            
การละเล่นพื้นบ้านของไทย มีดังนี้

เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

           "เล่นซ่อนหา" หรือ "โป้งแปะ" เป็นหนึ่งในการละเล่นพื้นบ้านที่มีมาช้านาน และยังได้รับความนิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย เพราะกติกาง่าย แถมสนุก และต้องมีการกำหนดอาณาเขต เพื่อไม่ให้กว้างจนเกินไป จนถึงวันนี้ก็ยังมีเด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นซ่อนหาให้เห็นกันอยู่
           โดยกติกาก็คือ คนที่เป็น "ผู้หา" ต้องปิดตา และให้เพื่อน ๆ ไปหลบหาที่ซ่อน โดยอาจจะนับเลขก็ได้ ส่วน "ผู้ซ่อน" ในสมัยก่อนจะต้องร้องว่า "ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนาได้ข้าวเม็ดเดียว" แล้วแยกย้ายกันไปซ่อน เมื่อ "ผู้หา" คาดคะเนว่าทุกคนซ่อนตัวหมดแล้ว จะร้องถามว่า "เอาหรือยัง" ซึ่งเมื่อ "ผู้ซ่อน" ตอบว่า "เอาล่ะ" "ผู้หา" ก็จะเปิดตาและหาเพื่อน ๆ ตามจุดต่าง ๆ เมื่อหาพบจะพูดว่า "โป้ง..(ตามด้วยชื่อผู้ที่พบ)" ซึ่งสามารถ "โป้ง" คนที่เห็นในระยะไกลได้ จากนั้น "ผู้หา" จะหาไปเรื่อย ๆ จนครบ ผู้ที่ถูกหาพบคนแรกจะต้องมาเปลี่ยนมาเป็น "ผู้หา" แทน แต่หากใครซ่อนเก่ง "ผู้
ที่หาไม่เจอก็จะต้องเป็นผู้ซ่อนของแทน
   หมากเก็บ                                                                                                                                             
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์การเล่น ก้อนหินขนาดเล็ก จำนวน ๕ ก้อน
วิธี การเล่น เป็นการละเล่นประเภทโยนรับ ซึ่งต้องอาศัยทักษะความแม่นยำ โดยโยนเองและรับเอง เวลาเล่นมักจะนั่งเล่นเป็นวงจำนวนหลายคน โดยผู้เล่นตกลงกันว่าจะเล่นอย่างไร ส่วนใหญ่นิยมเล่นกันในหมู่เด็ก ๆ ดังนี้
หมาก ๑ โยนก้อนหิน ๑ ก้อน แล้วเก็บอีก ๔ ก้อนที่เหลือทีละก้อน
หมาก ๒ โยนก้อนหิน ๑ ก้อน แล้วเก็บอีก ๔ ก้อนที่เหลือทีละ ๒ ก้อน
หมาก ๓ โยนก้อนหิน ๑ ก้อน แล้วเก็บอีก ๔ ก้อนที่เหลือโดยแบ่งเก็บ ๒ ครั้ง ครั้งแรกเก็บ ๓ ก้อน ครั้งที่สองเก็บ ๑ ก้อนหรือจะสลับกันก็ได้
หมาก ๔ โยนก้อนหิน ๑ ก้อน แล้วเก็บรวบอีก ๔ ก้อน ที่เหลือทั้งหมดเพียงครั้งเดียว
หมาก ๕ หงายฝ่ามือเอาก้อนหินทั้ง ๕ ก้อนไว้ในฝ่ามือ โยนก้อนหินขึ้นและพลิกฝ่ามือคว่ำลงอย่างรวดเร็ว ใช้หลังมือรับก้อนหินซึ่งอาจร่วงลงไปบ้าง โยนก้อนหินอีกครั้งและพลิกมือใช้ฝ่ามือรับเหลือก้อนหินในฝ่ามือเท่าใดนั่น คือจำนวนคะแนนที่ได้
หมาก ๑-๕ นี้ หากผู้เล่นคนใดรับไม่ได้ต้องเปลี่ยนผู้เล่นใหม่ และหมุนเวียนไปจนได้คะแนนครบตามที่กำหนดไว้ ผู้ใดสามารถใช้หลังมือรับก้อนหินได้มากกว่าผู้อื่นจะเป็นผู้ชนะ หมากขุม
อุปกรณ์ในการเล่น
๑). รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมาก ใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมาก ในการเล่น ๙๘ ลูก
๓) ผู้เล่นมี ๒ คน
วิธีการเล่น
๑) ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก ทั้ง ๗ หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
๒) การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดินพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวณว่าเม็ดสุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิน ใส่ลูกหมากหลุมละ ๑ เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมืองฝ่ายตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงกันข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป เล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้า
ตาย ในหลุมเมืองฝ่ายตนเอง ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่ากินแทน เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในหลุมหัวเมืองของทั้ง ๒ ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
๓) การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลัดกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ ๗ ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่ายจะมีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน หลุมใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในกากรเล่นจะเล่นจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมือง หม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้
โอกาสหรือเวลาในการเล่น
การเล่นหมากขุมจะเล่นในยามว่างจากการงาน เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นพักผ่อนหย่อนใจ จึงเล่นได้ทั้งวัน


ม้าก้านกล้วย
คนไทยรู้จักธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี เมื่อตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้านก็ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ใช้และรักษาธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมอย่างชาญฉลาด เด็กไทยก็ดัดแปลงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาทำเป็นของเล่นได้อย่างเหมาะสมและสนุกสนาน
ม้าก้านกล้วย เป็นของเล่นที่เด็กผู้ชายที่อยู่ในวัยซุกซนชื่นชอบมาก เด็กไทยทั่วไปจะรู้จักการเล่นม้าก้านกล้วยเป็นอย่างดี
วิธีทำม้าก้านกล้วย ทำง่าย เด็กๆสามารถทำเล่นเองได้ ถ้าอยากเล่นม้าก้านกล้วย เด็กๆก็จะถือมีดเข้าไปในสวนหรือที่ทั่วไปตามบริเวณบ้านที่มีต้นกล้วย เพราะหมู่บ้านคนไทยจะปลูกต้นกล้วยไว้แทบทุกหลังคาเรือน
เมื่อเลือกใบกล้วยที่มีความยาวพอเหมาะ ก็จะตัดใบกล้วยมา เอามีดเลาะเอาใบกล้วยออก เหลือไว้ที่ปลายใบเล็กน้อยเพื่อให้เป็นหางม้า ที่ก้านด้านโคนจะมีขนาดใหญ่เกือบเท่าข้อมือของเด็กๆ ด้านนี้เอง เด็กๆจะกะความยาวประมาณหนึ่งคืบ หรือสองคืบ แล้วเอามีดฝานแฉลบด้านข้างของก้านตรงที่กะไว้ฝานบางๆไปทางด้านโคนทั้งสองข้าง เพื่อให้เป็นหูม้า พอได้ขนาดหูยาวตามต้องการแล้วก็เอามือหักก้านกล้วยตรงที่กะจะให้เป็นโคนหูม้า ก้านกล้วยก็จะกลายเป็นรูปม้ามีหูม้าชันขึ้นทั้งสองข้าง เสร็จแล้วก็เอาแขนงไม้ใผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบเศษ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้ เสียบทะลุไปที่ก้าน ไม้ที่เสียบก็จะมีลักษณะเหมือนสายบังเหียนที่ผูกปากม้ากับคอม้า เสร็จแล้วก็ทำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็เสร็จ หาแขนงไม้ไผ่มา ๑ อัน ทำเป็นแส้ขี่ม้า ตอนนี้ก็พร้อมที่จะเล่นม้าก้านกล้วยได้แล้ว
การเล่นม้าก้านกล้วยก็แล้วแต่เด็กๆจะคิดเล่น เช่น เล่นควบม้าวิ่งแข่งกันหาคนชนะ ควบม้าจัดกระบวนทัพต่อสู้กัน หาอาวุธตามรั้วคือแขนงไม้ไผ่มาทำเป็นดาบรบกัน หรือจะวิ่งแข่งกันเป็นคู่ๆ หากไม่มีเพื่อนก็ควบเล่นคนเดียวที่ลานบ้านหรือเลี้ยวไปตามป่ากล้ายในสวนก็ได้
ม้าก้านกล้วย นอกจากเด็กๆจะทำเล่นได้เอง วัสดุก็หาง่าย วิธีเล่นก็ฝึกความคิด ฝึกการเล่นเป็นหมู่คณะมีผู้นำ ผู้ตาม วิธีเล่นก็เหมาะกับเด็กๆ ได้ออกกำลังกาย ได้เคลื่อนไหวเหมาะแก่วัยของเด็กๆ ม้าก้านกล้วยเป็นการละเล่นที่ง่ายและมีประโยชน์และเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่ น่าสนใจอย่างยิ่ง
วิ่งเปรี้ยว
ผู้ เล่นมีจำนวนตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป โดยจะแบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่ายเท่าๆกันสถานที่เล่นมักจะใช้ลานกว้าง และมีต้นไม้สองต้นเป็นหลักแข่งกัน ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องจัดแถวประจำที่หลักของตนเองเมื่อเริ่มเล่นคนที่อยู่หัว แถวต้องวิ่งไปอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้าม จากนั้นวกกลับมาส่งผ้าให้ผู้เล่นถัดไปที่หลักของตน เป็นคนวิ่งต่อไป ผู้เล่นของแต่ละฝ่ายต้องพยายามวิ่งกวดและใช้ผ้าไล่ตีฝ่ายตรงข้าม
วิธีเล่น เตย...
          แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 3 - 5 คน ส้มขามขอเรียกฝ่ายรุกกับฝ่ายรับนะคะ ขีดเส้นเป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วขีดเส้นกลางสี่เหลี่ยม เรียกเส้นกลางและเส้นแนวขวาง (เป็นด่าน ๆ)  ภายในกรอบสี่เหลี่ยมเท่ากับจำนวนผู้เล่น ผู้เล่นฝ่ายรับคอยเฝ้าเส้นทุกเส้นไม่ให้ฝ่ายรุกผ่านไปได้  เช่น เล่น 5 คน มีเส้นกลาง 1 เส้น เส้นขนานกรอบ 4 เส้น 
          เมื่อเริ่มเล่น   หัวหน้าทีมแต่ละฝ่ายเป่ายิ้งฉุบกันว่าใครจะได้เล่นก่อน ผู้ชนะเป็นฝ่ายรุก  ผู้เล่นฝ่ายรุกต้องวิ่งหนีไปตามกรอบสี่เหลี่ยม จุดหมายคือท้ายสุดของกรอบ  ผ่านทีละช่อง ระวังอย่าให้ฝ่ายรับจับหรือเตะตัวได้ได้  ส่วนฝ่ายรับก็ต้องคอยระวังอย่าให้ฝ่ายรุกผ่านไปได้เช่นกัน ถ้าหากผ่านไปได้ทุกด่านก็จะพูดดัง ๆ ว่า เตย (นั่นหมายถึงผู้ชนะค่ะ) แล้วทีมแพ้ก็ต้องออกไป แต่ละฝ่ายมีการหลอกล่อกัน เล่นไปก็หัวเราะไป คอยลุ้นว่าใครจะแพ้ ใครจะชนะ  เพราะถ้าหากแพ้นั่นหมายถึง  ต้องออกจากการแข่งขัน แล้วต้องไปนั่งดูเพื่อน ๆ เล่น
                   


                                                                                                                                                     บักปิ่น(ใบพัดหรือกังหัน)
สถานที่เล่น  ตามทุ่งนา  หรือลานบ้าน
จำนวนผู้เล่น  ไม่จำกัดคน
เสียบเป็นแกนเพื่อให้กังหันหมุนเวลาถูกลม
วิธีเล่น  ให้เล่นนำบักปิ่นที่ทำไว้มาคนละหนึ่งอัน  แต่ละคนถือบักปิ่นในทิศทางทวนกระแสลม  เอามือจับไว้ไม่ให้หมุน  เมื่อทุกคนพร้อมแล้วจะร้องว่า  “ทวนลม”  พร้อมกับปล่อยให้ใบพัดหมุน  ของผู้ใดหมุนเร็วกว่า (บักปิ่นหมุนดี)  ย่อมเป็นผู้ชนะถ้าไม่มีการ       แข่งขันผู้เล่นผู้เล่นจะวิ่งไปรอบๆ  ทุ่งนา  หรือสถานที่ที่พอใจให้บักปิ่นหมุน  จนกระทั่ง                เหนื่อยจึงพัก  แล้วค่อยเล่นต่อจนเป็นที่พอใจจึงหยุดเล่น
คุณค่าในการเล่น  เพื่อออกกำลังกาย  สนุกสนาน  โดยเฉพาะการใช้วัสดุในท้องถิ่นให้เกิด                  ประโยชน์หลายทาง

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โครงงานเรื่อง การละเล่นพื้นบ้านไทย

                                     โครงงานเรื่อง  การละเล่นพื้นบ้านของไทย
              หลักการและเหตุผล
        การละเล่นของไทยในสมัยก่อนนั้นมีวิธีการเล่นที่สนุกสนาน และหลากหลายการละเล่นของเด็กไทยในสมัยก่อนนั้นที่สืบทอดมาจากรุ่นก่อนบางประเภทก็มีบทร้อง ท่าทางประกอบ ข้อตกลงในการเล่นในแต่ละท้องถิ่นบางครั้งก็เล่นตามความสนุกสนานร่าเริง แต่บางครั้งก็เล่นเพื่อการแข่งขันซึ่งได้รับความบันเทิงจากการละเล่นเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงทำให้การละเล่นพื้นบ้านของไทยนั้นเลือนหายไปจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่คนสมัยนี้อาจไม่รู้ถึงวิธีการเล่นและประโยชน์ของการละเล่นพื้นบ้านไทยดังนั้นเราควรมีความสนใจในเรื่อง การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่ออนุรักษ์การละเล่นของไทยที่กำลังจะสูญหายไปให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
          วัตถุประสงค์
-          เพื่ออนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยให้คงอยู่
-          เพื่อรวบรวมการละเล่นพื้นบ้านของไทย
-          เพื่อศึกษาวิธีการละเล่นพื้นบ้านของไทย
           เป้าหมาย
              ด้านคุณภาพ
-          สามารถเผยแพร่การละเล่นของไทยได้อย่างถูกต้อง
-          บุคคลอื่นสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
-          บุคคลอื่นรักและห่วงแหนการละเล่นพื้นบ้านของไทยมากขึ้น
ด้านปริมาณ
-          ได้เว็บไซต์การละเล่นพื้นบ้านของไทย  1 ชุด
วิธีการดำเนินการ
 ขั้นเตรียม
-          เตรียมหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า
-          ศึกษารายละเอียดของการละเล่นพื้นบ้านไทย
 ขั้นดำเนินการ
-          ศึกษาการทำเว็บไซต์
-          ตกแต่งภาพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ประกอบลงบนเว็บไซต์
-          ทำการเชื่อมโยงเว็บไซต์
-          หาข้อเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านไทย
-          หาตัวอย่างการละเล่นพื้นบ้านไทย
-          ประวัติผู้ทำเว็บ
             ระยะเวลาในการดำเนินการ
เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน
สถานที่ดำเนินการ
    -โรงเรียนวังพิกุลพิทยาคม
งบประมาณ
     -ใช้ประมาณ250  บาท
             หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                 -ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
                  -อาจารย์ที่ปรึกษาเว็บไซต์
                 อาจารย์ที่ปรึกษา